วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 5 : Power Bank

ในปัจจุบันนี้พาวเวอร์แบงค์เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตเพราะคนเรามีการติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์มากขึ้นเดี๊ยนจึงเอาวิธีการเลือกซื้อ Power Bank มาฝากกันค่ะ ขอให้ทุกคนรับชมอย่างมีความสุขน่ะคะ

วิธีการเลือกซื้อแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) จากประสบการณ์จริง พร้อมวิธีการดูแลให้ใช้งานได้นาน ๆ


=================================
ปัจจัยที่ทำให้แบตเตอร์รี่หมดเร็ว
=================================

อุปกรณ์สมาร์ทโฟนปัจจุบันมีความสามารถเยอะก็จริง แต่ใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่มากด้วย ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานแบตเตอร์รี่มากน้อยของการใช้งานแต่ละคน มีดังนี้ครับ

- ขนาดหน้าจอและความละเอียด เป็นส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่มากที่สุดเลย
- ความสว่างของหน้าจอ ยิ่งสว่างมากใช้พลังงานมาก
- รับสัญญาณ 3G หรือ WiFi ถ้ากำลังรับสัญญาณ 3G จะใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่มากกว่าใช้ WiFi

- ระยะเวลาการใช้โทรเข้า/ออก
- ระยะเวลาการใช้แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น เปิดซิงค์อีเมล์ทุก 5 นาที จะใช้พลังงานมาก
- ประเภทของแอพ เช่น แอพเกมส์จะใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่มากกว่าแอพอีเมล์/เฟสบุ๊ค

ดังนั้น ตอนเลือกซื้อมือถือ / แทบเลต "ห้ามพิจารณา" เฉพาะสเปคเครื่องเท่านั้น แต่ให้ดู "ความจุของแบตเตอร์รี่" ด้วยครับ ซึ่งในท้องตลาด ณ ตอนนี้ สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ขนาด 4.3 นิ้วขึ้นไป ควรมีแบตเตอร์รี่ความจุอย่างน้อย 2,000 mA และ แทบเล็ตควรมีความจุของแบตเตอร์รี่อย่างน้อย 6,000 mA ถ้าความจุแบตเตอร์รี่น้อยกว่านี้ .. อาจใช้งานได้แค่ 4-6 ชั่วโมงก็แบตเตอร์รี่หมดแล้ว


=================================
แบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) จำเป็นไหม ?
=================================

จำเป็นหรือไม่ ? คุณตอบเองได้ครับว่า หงุดหงิดเพราะแบตเตอร์รี่หมดก่อนจะหาปลั๊กไฟชาร์ตมากขนาดไหน ? อาการหงุดหงิดไม่ว่าจะมีเหตุผลจำเป็น เช่น กำลังทำงานส่งอีเมล์ / ติดต่อลูกค้า ฯลฯ หรือ เหตุผลรอง เช่น ฟังเพลงระหว่างเดินทาง / แชทกับเพื่อน ฯลฯ

ถ้าหงุดหงิดมาก ใจสั่น กระวนกระวาย .. จงซื้อแบตเตอร์รี่สำรองมาใช้โดยพลันครับ


=================================
แบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) คือ อะไร ?
=================================
แบตเตอร์รี่สำรอง คือ แบตเตอร์รี่ที่มีการออกแบบความจุมากหลาย ๆ เท่า ห่อหุ้มด้วยวัสดุกันระเบิดอย่างแน่นหนาเพื่อให้สะดวกพกพาเดินทาง พร้อมมีช่องจ่ายกระแสไฟฟ้าบ้านเข้าตัวแบตเตอร์รี่ และ มีช่องจ่ายพลังงานจากแบตเตอร์รี่เข้าสู่สมาร์ทโฟน/แทบเล็ต

ในท้องตลาดมีหลายแบรนด์มาก ๆ ส่วนใหญ่ผลิตที่ประเทศจีนครับ แม้แต่แบรนด์ดัง ๆ เช่น Enerigizer / Sanyo ฯลฯ เพียงแต่ต่างกันที่กระบวนการควบคุมคุณภาพ และวัสดุที่นำมาผลิต ดังนั้น อย่าได้พูดว่าของจีนแดงไม่ดีครับ เพราะอุปกรณ์อิเล็คทริคส์ชั้นนำของโลกกว่า 50% ผลิตโดย "ประเทศจีน" ครับ :)


=================================
เลือกซื้อแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ต้องดูอะไรบ้าง ?
=================================

(1) ความจุของแบตเตอร์รี่มือถือ/แทบเลตของคุณ x 2.5 เป็นอย่างน้อย – 30% ของความจุแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank)
ผมขอยกตัวอย่าง Samsung Galaxy Note 2 นะครับ

1.1 ความจุของแบตเตอร์รี่ คือ 3,100 มิลลิแอมป์ ให้เอา x2.5 เข้าไป ได้ค่าเท่ากับ 7,750 มิลลิแอมป์
1.2 ความจุเป้าหมายของแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ของผม คือ 7,750 x30% ได้ค่าเท่ากับ 2,325 มิลลิแอมป์
1.3 ความจุที่ผมจะได้จริงเพื่อเอาไปใช้งานของแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) คือ 7,750 – 2,325 ได้เท่ากับ 5,425 มิลลิแอมป์


ดังนั้น ผมก็จะมองหาความจุของแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ที่จุได้อย่างน้อย 7,750 มิลลิแอมป์ชึ้นไปเท่านั้นครับ เพื่อจะชาร์ต Note 2 ได้อย่างน้อย 2 รอบ (รอบละ 50%)

 


(2) อัตราการคายประจุของตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank)

อันนี้สำคัญมากครับ เพราะแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) เมื่อได้รับการชาร์ตไฟบ้านเข้าจนเต็มตัวมันเองแล้ว เราก็จะถอดปลั๊ก แล้วก็พกมันเพื่อเดินทางไปกับเราระหว่างวัน ทันทีทีหยุดชาร์ตไฟ ตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) มันจะเริ่มคายพลังงานประจุไฟฟ้าที่มันเก็บไว้ ทิ้งออกไปเรื่อย ๆ (สลายตัวมันเอง) ซึ่งเป็นลักษณะของมันอยู่แล้วครับ ถ้าเลือกแบรนด์ต่ำ ๆ คุณภาพไม่ดีอัตราการคายประจุจะเร็วมากกกก มากจนมันคายหมดไปเลยครับ

ยกตัวอย่างประสบการณ์เลวร้ายของผมครับ
08.00 น.  
ผมชาร์ต Note 2 และ แบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) เต็ม 100%

13.00 น.
Note 2 ผมแบตเตอร์รี่อ่อนเหลือ 30% ผมก็จะหยิบแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ออกมาเพื่อชาร์ตไฟเข้าให้กับมือถือ แป๊กครับ ไม่มีกระแสไฟฟ้าเหลือในแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ของผมเลย เพราะมันคายประจุหมด

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) แบรนด์ล่าง ๆ ราคา 990 บาทที่มีขายกันเกร่อครับ ซึ่งเหตุการณ์ “คายประจุจนหมด” นี้จะไม่เกิดขึ้นกับคุณหากคุณซื้อแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) แบรนด์ดัง ๆ เช่น Sanyo / Power Rocks /  Yooboa




(3) อัตราการรับไฟบ้านเข้าตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) และอัตราการจ่ายไฟออกจากแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ให้กับมือถือ / แทบเล็ต

อันนี้สำคัญมาก เพราะระยะเวลาการชาร์ตหากชาร์ตนานก็ทำให้เราหงุดหงิดมิใช่น้อยครับ  ให้พิจารณาที่ฉลากข้างกล่องได้เลยครับตรงที่พิมพ์แบบนี้

Input : DC 5V – 2.1 A (max)
หมายความว่า ตอนชาร์ตไฟบ้านเข้าตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปเก็บสูงสุดต่อหน่วยเวลา คือ 2.1 แอมป์ (ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่เร็วมากและปลอดภัยสำหรับแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) แล้วหละครับ) ดังนั้น ถ้าพิมพ์ว่า 1.0 A (max) ก็แสดงว่า ชาร์ตไฟบ้านเข้าตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) นานมากครับ ยิ่งความจุ 10,000 มิลลิแอมป์ อาจนานถึง 15 ชั่วโมงเลยทีเดียว

Output : DC 5V – 2.1 A
หมายความว่า ตอนชาร์ตมือถือ / แทบเล็ตเข้ากับตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) แล้ว กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสูงสุดต่อหน่วยเวลา คือ 2.1 แอมป์ (ยิ่งมาก ยิ่งดี  2.1 A ถือว่าเร็วมาก ๆ ซึ่งปกติในท้องตลาดจะมี 1.0 A กับ 2.1 A ครับ)




(4) ราคา
แบรนด์ที่มีชื่อเสียงจะมีราคาสูง คือ 2,000 บาทขึ้น เพราะคุณจะได้รับการรับประกัน 6 เดือน ถึง 1 ปี และคุณภาพเรื่องการคายประจุที่ต่ำ (ทำให้เก็บไฟในตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ได้นานขึ้น)

อีกปัจจัยที่ทำให้ราคาสูงขึ้น คือ ปริมาณการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) เข้าอุปกรณ์มือถือ  / แทบเลต ซึ่งราคา 2,000 – 2,500 บาท จะปล่อยเข้าที่ 1.0 แอมป์  แต่ถ้าราคา 3,000 บาทขึ้นจะอยู่ที่ 2.1 แอมป์ (สูงสุดสำหรับอุปกรณ์มือถือ / แทบเลตครับ)




(5) อุปกรณ์เสริม
ปกติแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ที่มีขายจะไม่มี “หัวปลั๊กไฟ” ที่ใช้ต่อไฟบ้านเพื่อชาร์ตไฟเข้าแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) มาพร้อมในกล่องด้วยนะครับ เพราะ “หัวปล๊กไฟ” นี้สามารถใช้ร่วมกับของมือถือ / แทบเล็ตในยุคปัจจุบันที่มีพอร์ต USB ที่ “หัวปลั๊กไฟ” อยู่แล้ว (หัวปลั๊กไฟจะแปลงกระแสไฟบ้าน 220 โวลต์ เป็นกี่แอมป์ให้ดูที่หัวปลั๊กไฟได้เลยครับ ตรงบรรทัดที่เขียนว่า Output ) ดังนั้น ให้ดูว่ามีหัวปลั๊กแปลงที่เข้ากับอุปกรณ์ของเราครบถ้วนหรือไม่ครับ

=================================
แบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ยี่ห้อไหนดีหละ ?
=================================

ผมขอระบุตาม “ประสบการณ์จริง” ของผม ดังนี้ครับ

Power Rocks
ผมใช้ตัวนี้ครับ (ราคา 3,890 บาท ความจุ 7,800 มิลลิแอมป์) อัตราคายประจุต่ำ ชาร์ตไฟเข้า Note 2 ได้ 38% ต่อ 1 ชั่วโมง ในสถานการณ์จริงแบตเตอร์รี่ Note 2 ต่ำเหลือ 50% ผมก็ใช้ Power Rocks มาต่อกับ Note 2 แล้วหละครับ แป๊ปเดียวเต็มครับ ชาร์ตเสร็จแล้วตัว Power Rocks ยังเหลือกระแสไฟอีก 70% ให้ใช้ต่อได้ครับ รับประกันตลอดอายุการใช้งานอีกด้วยครับ


Yoobao
ความจุเยอะ ราคาถูก อัตราการคายประจุต่ำ แต่อัตราตอนชาร์ตไฟจาก Yoobao เข้ามือถือ / แทบเล็ตช้ามากครับ ประมาณ 8% ต่อ 1 ชั่วโมง  แต่ก็ขึ้นกับความจุของแบตเตอร์รี่มือถือด้วยนะครับ ถ้าความจุน้อยเช่น 1,500 มิลลิแอมป์ ก็จะได้ประมาณ 16% ต่อ 1 ชั่วโมง (เพราะ 8% ผมเทียบจาก Note 2 ครับ)

แต่เดี๋ยวก่อนครับ Yoobao แปลกอย่าง คือ ถ้าใช้หัวแปลงของ iPad 2 / iPhone 5 แล้วขาร์ตเข้ากับอุปกรณ์ของ Apple ปรากฏว่า ชาร์ตได้เร็วมากครับ ประมาณ 30% ต่อชั่วโมงทีเดียว
ผมเลยสรุปเอาเองว่า Yoobao ไม่เหมาะกับอุปกรณ์มือถือ / แทบเล็ตที่มีใช้พอร์ตชาร์ตแบบ Samsung ครับ แต่เหมาะกับคนใช้อุปกรณ์ของ Apple ครับ

Power Max
คายประจุเร็วและราคาสูง




=================================
รักษาแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ยังไงให้ทนทาน ?
=================================

ตอนซื้อแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) ครั้งแรกให้ชาร์ตด้วยอัตราไฟเข้าต่ำ (ถ้าทำได้) คือ ไม่ใช้ไฟบ้านวิ่งเข้าตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) โดยตรงครับ แต่ให้ใช้ไฟจากคอมพิวเตอร์ / Notebook เป็นแหล่งจ่ายไฟเข้าแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) แทนก่อน


ถ้าใช้แหล่งไฟจากไฟบ้าน ควรชาร์ตครั้งแรก 12 ชั่วโมงต่อความจุของแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) 10,000 มิลลิแอมป์ครับ

ถ้าใช้แหล่งไฟจากคอมพิวเตอร์ / Notebook ควรชาร์ตครั้งแรก 24 ชั่วโมงต่อความจุของแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) 10,000 มิลลิแอมป์ครับ

เหตุผลที่ครั้งแรกให้ชาร์ตด้วยอัตราไฟเข้าต่ำ เพราะต้องการกระตุ้นเซลล์เก็บประจุ ประเภท Li-On ของแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) เองให้ครบทุกเซลล์ครับ
หลังจากครั้งแรกแล้ว ถ้าสามารถชาร์ตแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank)  ด้วยไฟต่ำได้เสมอจะรักษาให้แบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) มีอายุการใช้งานนานขึ้นครับ แต่ถ้าไม่สะดวกก็ขาร์จไฟบ้านตามปกติได้ แต่อายุการใช้งานก็จะเป็นไปตามจริงของมันครับ (อายุการใช้งาน 1-2 ปี แล้วแต่การใช้งานครับ)

แบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) เกลียดความร้อนครับ ยิ่งใกล้ความร้อนตัวเซลล์ในแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) เองจะเสื่อมไว ดังนั้นงดวางไว้ในรถที่ตากแดด / หลังอุปกรณ์คอมพ์ที่ร้อน

แบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) จะเสื่อมเร็วถ้าเราต่อแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank)เข้ากับมือถือ / แทบเล็ต แล้วใช้อุปกรณ์เข้าเน็ต  / เล่นเกมส์ไปด้วยครับ ดังนั้น ควรปล่อยให้แบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank)จ่ายไฟเข้าอุปกรณ์มือถือ / แทบเล็ตจนเต็ม แล้วถอดปลั๊กออก  จึงค่อยใช้งานอุปกรณ์ครับ

แบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) จะเสื่อมเร็วมากขึ้น ถ้าเราไม่ชาร์จไฟให้ตัวเขาเต็มอยู่เสมอ หากเห็นว่าสถานะไฟบนตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) เหลือต่ำกว่า 30% แล้ว “ควรหยุดใช้งาน” ครับ เพราะถ้าขืนคุณหยิบแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank)ไปจ่ายไฟเข้ามือถือ / แทบเล็ต จนไฟในตัวแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank)หมดเกลี้ยง คุณจะเห็นอาการ “ตายสนิท” ของแบตเตอร์รี่สำรอง (Power Bank) เร็วมากขึ้นครับ

=================================
เพิ่มเติม ข้อมูลเชิงตัวเลขของแบตเตอร์รี่สำรอง แบรนด์ Power Rocks
=================================
ถาม : อัตราการชาร์ตไฟบ้านเข้าตัว Power Rocks จนเต็มเท่าไหร่ ?
ตอบ : ใช้เวลา 12 ชั่วโมงในการชาร์จจนเต็ม (หากใช้จน Power Rocks เหลือ 20%) หมายความว่า ใช้เวลาชาร์จอีก 80% ประมาณ 12 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้จนหมดเกลี้ยง (ผมยังไม่เคย) ค่าดว่าจะใช้เวลา 16 ชั่วโมงในการชาร์จจนเต็มครับ

ถาม : อัตราการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากตัว Power Rocks เข้าสู่ Samsung Galaxy Note 2  เท่าไหร่ ?
ตอบ : คือ 2.1 แอมป์ครับ แต่ก็ขึ้นกับการรับกระแสไฟของอุปกรณ์ของคุณ

ถาม : ระยะเวลาการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากตัว Power Rocks เข้าสู่ Samsung Galaxy Note 2  เท่าไหร่ ?
ตอบ : ระยะเวลาการจ่าย คือ 0.63% ต่อนาที ดังนั้น 1 ชั่วโมงชาร์ตไฟเข้า Note 2 ได้ถึง 38% ครับ

=================================
บทความนี้มีลิขสิทธิ์ โดย นายแทมดอทคอม (Naitam.com) ผมไม่อนุญาตให้คัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใด หรือ ทั้งหมด เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ยกเว้นใช้อ้างอิงเพื่อความรู้
=================================



ขอขอบคุณที่ติดตามชมนะคะ ถ้าจะเลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์ก็ระมัดระวังหน่อยนะคะ ♥

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น